SPHERE

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันขนาดของตลาดอาหารฮาลาลโลก มีมูลค่าประมาณ 150,000–200,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของประชากรโลกและคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศมุสลิมมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 6.3 ระหว่างปี 2013-2018 ซึ่งเศรษฐกิจฮาลาลแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ อาหาร การท่องเที่ยว
และการเงิน
ประเทศไทยมีการตื่นตัวมากเรื่องการผลิตและการบริการฮาลาลในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดปัจจัยหลายประการที่ผลักดันในการผลิต การแปรรูป และการส่งออกสินค้าฮาลาล ได้แก่ การขาดข้อมูลห่วงโซ่อุปทานด้านฮาลาล (Halal supply chain) สำหรับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน, การขาดข้อมูลด้านการวางระบบและการรับรองมาตรฐานฮาลาลของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานรับรองให้มีประสิทธิภาพ จึงทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลางการแลกเปลี่ยนทรัพยากร อิเล็คทรอนิคส์ด้านฮาลาล (System Protocol for Halal Electronic Resources Exchange หรือ SPHERE) เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดฮาลาลภูมิภาค IMT-GT, GMS และอาเซียน โดยมาตรฐาน SPHERE จะครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ระบบที่ถูกพัฒนา
Halalthai.com
เว็บไซต์ www.halalthai.com เป็นเว็บไซต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นของหน่วยงานต่างๆ ในการขึ้นทะเบียนและตรวจสอบสินค้า ตามกระบวนการฮาลาลเพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคไปจนถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วนได้อย่างถูกต้องและสะดวก
Auditor Checklist System
ระบบตรวจประเมินและรับรองฮาลาลสำหรับคณะกรรมการและผู้ตรวจสอบ โมบายแอปพลิเคชันชื่อ Auditor Checklist System (ระบบตรวจประเมินและรับรองฮาลาล) ที่ช่วยในงานตรวจสอบเอกสารและข้อมูลในการยื่นคำขอรับรอง ฮาลาล
H-Apps
Halal Application หรือ H-Apps เป็นแอปพลิเคชันที่รวบรวมแอปพลิดเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับด้านฮาลาลในประเทศไทย ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันที่พร้อมใช้งานอ่านข่าวสารและองค์ความรู้อัพเดตล่าสุด รวมถึงบริการด้านฮาลาลอื่นๆอีกมากมาย
H4E Application
ระบบค้นหารสารปรุงแต่งอาหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำ แอปพลิเคชันแสดงสถานะวัตถุเจือปนในอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยได้ศึกษาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่การค้นคว้าตำราต่างๆ
Halal Ingredient System
ระบบค้นหาส่วนประกอบอาหารฮาลาล ใช้ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย ฮาลาล และผู้จัดจำหน่ายที่ผ่านมาตรฐานให้สามารถใช้ได้ถูกตามหลักของศาสนาอิสลามและใช้งานได้สะดวกโดยสามารถใช้งานผ่านทั้งแท๊บเล็ตและคอมพิวเตอร์
Halal Scan Application
แอปพลิเคชั่นที่ให้บริการการตรวจสอบสถานะการรับรองฮาลาลของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้รับเครื่องหมายฮาลาลจากสนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ สมาร์ทโฟนของตนเองสแกนไปที่เครื่องหมายฮาลาล
Halal Certification System
Halal Certification System ระบบยื่นคำขอรับรองฮาลาล ผู้ผลิตสินค้าเรียนรู้กระบวนการรับรองและขอใช้เครื่องหมาย ,ยื่นคำขอรับรองฮาลาลและตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากระบบยังช่วยทำเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับรอง
Auditor Assistant
ระบบผู้ช่วยผู้ตรวจประเมินและรับรอง ฮาลาล สำหรับคณะกรรมการและผู้ตรวจสอบ โมบายแอปพลิเคชั่นชื่อ Auditor Assistant (ระบบผู้ช่วยผู้ตรวจประเมินและรับรองฮาลาล) ที่ช่วยในงานตรวจประเมินและรับรอง ฮาลาล ในแบบที่กรรมการอิสลาม
API
SPHERE API คือการสร้างช่องทางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบและนักพัฒนาที่ต้องการข้อมูลฮาลาล ภายใต้โครงการ “ระบบศูนย์ข้อมูลกลางการแลกเปลี่ยนทรัพยากรอิเล็คทรอนิคส์ด้านฮาลาล” โดยใช้ช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูล
กิจกรรมฝึกอบรม
ในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเชียงใหม่ ได้มีการจัดอบรม “การใช้งานผ่านเว็บไซด์และโมบายแอพพลิเคชั่น Auditor Checklist” ภายใต้โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบศูนย์กลางการ แลกเปลี่ยนทรัพยากรณ์อิเล็คทรอนิคส์ด้านฮาลาล (System Protocol for Halal Electronic Resources Exchange หรือ SPHERE) เชื่อมโยงระบบ SILK และการมาตรฐานฮาลาล HAL-Q เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในตลาด ฮาลาลภูมิภาค IMT-GT, GMS และอาเซียน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเชียงใหม่ ห้องประชุมชั้น 3 โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสาร แนะนำการใช้งานและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซด์และโมบายแอพพลิเคชั่น Auditor Checklist
ในวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2561 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเชียงใหม่และทีมโปรแกรมเมอร์ ได้เดินทางไปจัดอบรม การใช้งานผ่านเว็บไซด์และโมบายแอพพลิเคชั่น Auditor Checklist ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสาร แนะนำการใช้งานและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซด์และโมบายแอพพลิเคชั่น Auditor Checklist
ในวันเสาร์ ที่ 1 ธันวาคม 2561 ในงาน“Betong Halal International Fair (BHIF 2018)” ในส่วนของ ห้องประชุมปิยะมิตร3 โรงแรมแกรนด์วิว เบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้จัด Workshop(อบรมเชิงปฏิบัติการ) ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) แอพพลิเคชั่นและนวัตกรรมเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลและสนับสนุนการรับรองฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดย นายชาฤทธิ์ สุ่มเหม เป็นวิทยากรบรรยาย และนายณัฐวุฒิ แสนปัญญา โปรแกรมเมอร์พัฒนาระบบ sphere ผู้ช่วยวิทยากร
ทางวิทยากรได้พูดถึง ขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ในแอพพลิเคชั่น(Auditor checklist) และมีการสอนแบบตัวต่อตัวเพื่อให้เข้าใจในการใช้แอพพลิเคชั่นกันมากขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากกับทางคณะกรรมการอิสลาม ทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ปัตตานี สงขลา นราธิวาส
