รู้จักเรา

การก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรก

โดย รศ.ดร.วินัย คะห์ลัน ได้เริ่มต้นงานวิทยาศาสตร์ฮาลาล ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2538 จากนั้นพัฒนากิจกรรมด้านอาหารฮาลาลปลอดภัยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิม ขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารจึงกำหนดนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โดยเร่งพัฒนาด้านความปลอดภัยในอาหาร และมุ่งส่งเสริมอาหารฮาลาลที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติงบประมาณ พ.ศ.2547-2549 สนับสนุนการจัดตั้งห้องปฏิบัติการและศูนย์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อันที่จริงกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 แล้ว การได้รับงบสนับสนุนสามปีงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีส่งผลให้งานวิทยาศาสตร์ฮาลาลพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 อนุมัติให้แยกออกจากคณะสหเวชศาสตร์ ยกระดับขึ้นเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2546 ซื่อถือเป็นวันกำเนิดของ ศวฮ. ตามการกำหนดของคณะกรรมการอำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่มีอธิการบดีเป็นประธาน

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

วิสัยทัศน์

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือผู้ขับเคลื่อนฮาลาลประเทศไทยสู่ความเป็นผู้นำด้านคุณภาพฮาลาลในระดับสากล

ปณิธาน

มุ่งพัฒนา “วิทยาศาสตร์ฮาลาล อัตลักษณ์ประเทศไทย”

“Halal Science Thailand Signature”

พันธกิจ

วิจัยและพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิมและมิใช่มุสลิม และเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย

ใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

สรรสร้างวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับในสังคมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

ภารกิจของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีดังต่อไปนี้

  • ห้องปฏิบัติการที่ประกอบด้วยเครื่องมือวิเคราะห์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและได้รับการรับรองมาตรฐาน
  • บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสิ่งต้องห้าม (หะรอมและนะยิส) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
  • พัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ ตลอดจนชุดตรวจเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร
    ฮาลาล
  • จัดทำบัญชีรายชื่อวัตถุดิบ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
  • จัดทำเว็บไซด์เพื่อให้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลและแก่ผู้บริโภค
  • ให้การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์แก่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลและองค์กรศาสนาอิสลามที่ดำเนินงานด้านการรับรองฮาลาลแก่ผลิตภัณฑ์
  • ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรมอาหารและภัตตาคารที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลโดยใช้ระบบ Halal-GMP/HACCP
  • จัดการอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่นักศึกษา ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ร่วมกับคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการผลิตบัณฑิตปริญญาตรี สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารซึ่งมีการเรียนการสอนทางด้านมาตรฐานอาหารฮาลาล การผลิตและการตรวจสอบ

Message us