
อบรมเตรียมความพร้อมการเป็น Trainer โครงการ E-commerce









ออกแบบและติดตามความคืบหน้าการพัฒนานวัตกรรม HAL-Click ระบบตรวจติดตามการผลิตอาหารฮาลาล-ปลอดภัยในโรงพยาบาล
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 คณะทำงานการพัฒนาแพล็ตฟอร์ม HAL-Click ระบบติดตามกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลในโรงพยาบาล ประชุมติดตามความคืบหน้าในส่วนฟังก์ชันการรายงานผลในรูปแบบ Dashboard ของการพัฒนาแพล็ตฟอร์มนวัตกรรมระบบตรวจติดตามการผลิตอาหารฮาลาลในโรงพยาบาล (HAL-Click Project) ซึ่งได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการและทำสัญญา ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ด้านสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โครงการ HAL CLICK เป็นการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเอกสารและตรวจติดตามการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการผลิตอาหารฮาลาล-ปลอดภัยด้วยระบบ HAL-Q ให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและประหยัดทรัพยากร รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลากรของฝ่ายโภชนาการ ในการควบคุมการบวนการผลิตอาหารภายใต้กระบวนการผลิตอาหารตามมาตรฐานฮาลาล-ตอยยิบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดูแลรักษาคนไข้ ในระหว่างการรับการรักษาในโรงพยาบาล
อบรมครูต้นแบบด้านการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี นำโดย ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี) พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ คณะครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย “การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี ดร.มูฮำหมัดอาฟีฟีย์ อัซซอลีฮีย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอิสลามศึกษา เป็นหัวหน้าโครงการ
ทั้งนี้ ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด ได้พูดคุยแนะนำกับคณะครูเกี่ยวกับแนวทางในการเรียนการสอนให้นักเรียนได้กล้าคิดและสามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ มีกระบวนการคิดนอกกรอบ ป้อนคำถามให้นักเรียนกล้าที่จะตอบและแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลังจากนั้น นายพิทักษ์ อาดมะเร๊ะ หัวหน้าส่วนงานบริการหน่วยงานภายนอก ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรมฮาลาลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน” เพื่อเป็นฐานให้กับครูในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างและพัฒนานวัตกรรมฮาลาลและสามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี
Halal Science & Nutrition Kids [email protected] Kohchan Pattani
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี นำโดย ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมจัดกิจกรรม (Halal Science & Nutrition Kids Camps @ Kohchan Pattani) ให้แก่ผู้นำเยาวชนด้านสุขภาพ ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ภาคประชาชน และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผอ.ศวฮ. จุฬาฯ กล่าวเปิดการอบรมพร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และกระบวนการคิด” กับการบรรยายโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ฮาลาล ในหัวข้อ “หลักการฮาลาลและสุขลักษณะพื้นฐานทางอาหาร” ได้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในหัวข้อ “การชำระล้างนญิสและวัตถุดิบตามกระบวนการฮาลาล” และ “อาหารมุสลิมกับฮาลาลต่างกันอย่างไร” เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ให้แก่ผู้นำเยาวชน ชุมชนบ้านเกาะจัน
ทั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ในรูปแบบของ Activities based learning เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลด้วยการปฏิบัติจริง จากกิจกรรมฐาน โดยมีกิจกรรมดังนี้
ฐานที่ 1 “วัตถุดิบต้องสงสัยและวิธีการเลือกวัตถุดิบฮาลาล”
ฐานที่ 2 “วิธีการและกระบวนการทำอาหารฮาลาลและโภชนาการ”
ฐานที่ 3“การตรวจสอบสิ่งหะรอมและต้องสงสัยในอาหารฮาลาล”
ฐานที่ 4 “แอปพลิเคชันและนวัตกรรมฮาลาล”
ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของโครงการ ทีไ่ด้สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในพื้นที่ ได้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล
การทำงานพัฒนาร่วมกับคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการพัฒนาที่แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดแล้ว ยังช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ฯ เข้าใจถึงบริบทการพัฒนาชุมชน สภาพสังคมแต่ละพื้นที่ และพร้อมร่วมขับเคลื่อนสังคมในพื้นที่ให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานปัตตานี จะร่วมจัดกิจกรรมลักษณะนี้ ให้เป็นภารกิจสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังคนต่อไป
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานปัตตานี ร่วมพัฒนาครัวผลิตอาหารฮาลาล ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดยะลา
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี ร่วมกับฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา โดย ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ บาบออาซิ แม ประธานฝ่ายกิจการฮาลาลและทีมงานจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังวัดยะลาและศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานปัตตานี เข้าสำรวจสถานที่และให้คำปรึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาครัวผลิตอาหารฮาลาลแก่เยาวชน ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีเด็กและเยาวชนชายอยู่ในความควบคุมดูแล จำนวน 81 คน ซึ่งเด็กและเยาวชนกว่าร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลามที่ต้องการบริโภคอาหารที่ฮาลาล จึงมีความประสงค์ที่จะจัดให้มีอาหารที่ถูกต้องตามมาตรฐานฮาลาลและอาหารที่ปลอดภัยแก่เยาวชนในศูนย์ฝึกฯแห่งนี้ และนัดหมายเพื่อพัฒนาระบบครัวต่อไป พร้อมกันนี้ทางศูนย์ฝึกฯยังขอความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมอื่นๆให้แก่เด็กและเยาวชนในศูนย์ฯฝึกในโอกาสต่อ ๆไป
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานปัตตานี เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการ การศึกษาเพื่อความมั่นคง
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี นำโดย ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผอ.ศูนย์ พร้อมด้วย ทีมงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (โครงการการศึกษาเพื่อความมั่นคง) ประจำปีงบประมาณ 2564-2565 ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์หลักในการเข้าร่วมเพื่อจัดทำรับฟังนโยบายการดำเนินงานและจัดทำคำของบประมาณตามแผนงานบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีหน่วยงานด้านการศึกษา เข้าร่วมกว่า 20 หน่วยงาน มีบุคลากรร่วมกว่า 90 คน ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ปัตตานี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี