งานคุ้มครองผู้บริโภค
การใช้เทคโนโลยีด้านห้องปฏิบัติการวิเคราะห์การปนเปื้อนในอาหารฮาลาลของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเริ่มต้นจากแนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิมในปี พ.ศ.2537 และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมานับแต่นั้น

การเป็นที่ปรึกษา/ผู้ตรวจฮาลาล
- เข้าใจกฎหมายอิสลาม (ชารีอะห์) อย่างถ่องแท้
- เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของกอฎี
- เข้าใจกระบวนการผลิตของโรงงาน/สถานที่ผลิต
- รู้จักวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์/บริการ
- รู้จักกระบวนการตรวจสอบ/ทวนสอบ
กำหนดของคณะกรรมการอิสลาม
- ต้องเป็นไปตามอำนาจที่มีตามกฎหมาย
- เลือกกำหนดเฉพาะสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้ หากตรวจสอบไม่ได้อาจใช้วิธีอนุโลมและติดตามตรวจภายหลัง (Post Marketing)
- ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้
- ยึดผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก กำหนดมาตรการคุ้มครอง ผู้บริโภค (เกณฑ์/บทลงโทษ)
สิ่งที่คณะกรรมการควรทราบ
- ประเด็นการกำหนดความรับผิดหากเกิดความเสียหาย (Liability) – การรับรองฮาลาลในทางกฎหมาย หมายถึง ความรับผิดเปลี่ยนมือจาก ผู้ผลิตมายังกรรมการอิสลาม ในทางศาสนาหมายถึงการเป็นกอฎี
- พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ ไม่ปลอดภัย พ.ศ. … (Product Liability Act) หรือกฎหมายพีแอล หากประกาศใช้ความรับผิดชอบส่วนหนึ่งจะอยู่ที่คณะกรรมการอิสลาม
แก้ปัญหาโดยเพิ่มประสิทธิภาพ
กระบวนการตรวจรับรองฮาลาล กอฎี : ผู้ที่ผ่านการเรียนรู้ในวิทยาการ ด้านอิสลามศึกษา ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินให้คุณหรือให้โทษแก่ผู้อื่นโดยยึดมั่นในหลักกฎหมายอิสลาม ไม่ยึดในความรู้สึกหรือความคิดของตนเองเป็นสำคัญ i-cias.com/e.o/qadi.htm
เรียนรู้และทำความเข้าใจผู้บริโภค
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมถึงคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
หน้าที่ของผู้บริโภคยุคใหม่
- เรียนรู้สิทธิของตนเองในฐานะพลเมืองไทย
- เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
- เก็บรายละเอียดของการซื้อสินค้าและใช้บริการ
- แยก “ความต้องการ” และ “ความจำเป็น”
- บริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี
- ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
“ผู้บริโภคในอนาคตจะเต็มไปด้วยคุณภาพ เราต้องสร้างความมั่นใจ ให้กับเขาให้ได้”
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับฮาลาล
- ฮาลาลคืออาหาร
- อาหารฮาลาลคืออาหารสำหรับมุสลิม
- อาหารมุสลิมคืออาหารอาหรับ/อินเดีย
- กล่าวถึงมุสลิมนึกถึงอาหรับ
- ตลาดอาหารฮาลาลคือตลาดโลกมุสลิม
ประชากรมุสลิมโลก
|
ล้านคน | % |
มุสลิมทั่วโลก | 1,800 | 100 |
อาหรับ |
310 | 17 |
เอเชียใต้ |
471 | 26 |
เอเชียกลาง/ตุรกี/อิหร่าน |
285 | 16 |
เอเชียอาคเนย์ |
211 | 12 |
จีน-เอเชียตะวันออก |
130 | 7 |
อัฟริกา |
188 | 77 |
อื่นๆ | 205 | 77 |
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด
นับถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและห้องปฏิบัติการเครือข่ายทำการตรวจผลิตภัณฑ์อาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ไปแล้วกว่า 2,000 ชนิด 5,000 การวิเคราะห์ ทั้งนี้ไม่นับรวมตัวอย่างอาหารและวัตถุดิบที่ส่งมาจากองค์กรคณะกรรมการอิสลามที่มีมากกว่า 500 ตัวอย่าง
อบรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2551 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจัดการอบรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล กระบี่ ภูเก็ต รวมถึงในต่างประเทศ เช่น ประเทศอียิปต์ ประเทศมอร็อคโก ประเทศจอร์แดน รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรมกว่า 9,000 คน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว จะมีการบรรยายให้ความรู้ต่างๆโดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ มีการสาธิตการตรวจวเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ มีการจัดนิทรรศการและแนะนำโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งรายละเอียดในการอบรมที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้
ประชากรมุสลิมโลก
- ประชากรมุสลิมโลก : 1,800 ล้านคน 100%
- อาหรับ : 310 ล้านคน 17%
- เอเชียใต้ : 471 ล้านคน 26%
- เอเชียกลาง/ตุรกี/อิหร่าน : 285 ล้านคน 16%
- เอเชียอาคเนย์ : 211 ล้านคน 12%
- จีน-เอเชียตะวันออก : 130 ล้านคน 7%
- อัฟริกา : 188 ล้านคน 11%
- อื่นๆ: 205 ล้านคน 11%
การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด
นับถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาลและห้องปฏิบัติการเครือข่ายทำการตรวจผลิตภัณฑ์อาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดไปแล้วกว่า 2,000 ชนิด 5,000 การวิเคราะห์ ทั้งนี้ไม่นับรวมตัวอย่างอาหารและวัตถุดิบที่ส่งมาจากองค์กรคณะกรรมการอิสลามที่มีมากกว่า 500 ตัวอย่าง
การอบรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2551 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจัดการอบรมแก่ ผู้บริโภคและผู้ประกอบในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล กระบี่ ภูเก็ต รวมถึงในต่างประเทศ เช่น ประเทศอียิปต์ ประเทศมอร็อคโก ประเทศจอร์แดน รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรมกว่า 9,000 คน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว จะมีการบรรยายให้ความรู้ต่างๆโดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ มีการสาธิตการตรวจ วิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ มีการจัดนิทรรศการและแนะนำโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งรายละเอียดในการอบรมที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้