ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2538 ดร.วินัย ดะห์ลัน เริ่มงานพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อการปกป้องผู้บริโภคมุสลิมในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2540 ใช้เทคนิค GC-FID ตรวจพบการปนเปื้อนสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮาลาล
พ.ศ. 2541 จัดตั้งเป็นศูนย์อบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของอาเซียนภายใต้การรับรองของคณะทำงานเฉพาะกิจแนวทางฮาลาลอาเซียน
พ.ศ. 2543 เข้าร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ประสงค์ขอการรับรองฮาลาล
พ.ศ. 2547 พัฒนาขึ้นเป็นห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลเต็มรูปแบบในพื้นที่ 400 ตารางเมตรของอาคารจุฬาพัฒน์ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2553 ย้ายห้องปฏิบัติการไปที่อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น11 พื้นที่ 800 ตารางเมตร
พ.ศ. 2554 พัฒนาการตรวจสอบความเครียดในสัตว์ ได้รับรางวัลในงานวิจัยฮาลาลโลกประเทศมาเลเซีย
ทรัพยากร
อาคารสถานที่
ห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025-2005 ตั้งอยู่ในพื้นที่ 800 ตารางเมตร อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 12 มีห้องปฏิบัติการด้านเคมีวิเคราะห์ และโภชนพันธุศาสตร์ที่ ทันสมัย
บุคลากร
นักวิทยาศาสตร์มุสลิม 20 คน
เครื่องมือ
ติดตั้งครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ทันสมัยมากมายกว่าร้อยชิ้น ได้แก่ LC/MS-Triple quadrupole, LC/MS-ESI, GC/MS/MS, ICP, FTIR-HTS-XT, real time-PCR, zonal-UC, HPLC-UV, GC-FID ฯลฯ
ศูนย์ร่วมกับคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการผลิตบัณฑิตปริญญาตรี สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารซึ่งมีการเรียนการสอนทางด้านมาตรฐานอาหารฮาลาล การผลิตและการตรวจสอบ
ขั้นตอนขอรับบริการทดสอบตัวอย่าง


4. ตรวจสอบสถานะ

5. รับใบรายงานผลการตรวจ

6. สอบถามข้อมูลผลทดสอบ
การบริการตรวจวิเคราะห์
1. การทดสอบการปนเปื้อนเจลาติน
Gelatin (Colorometry : AOAC 990.26 and FTIR :In house method)
เจลาติน(Gelatin) : เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ เจลาตินในผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน ลูกกวาด วุ้น เจลลี่ มาร์ชเมลโล ไอศครีม นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำผลไม้และเครื่องดื่ม ซอสปรุงรส ครีมสลัด มายองเนส ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ลูกชิ้น ไส้กรอก และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
2. การทดสอบสัดส่วนกรดไขมัน
Fatty Acid Profile (GC/MS-MS ,GC-FID, Lepage G and Roy : CC 1984, 1986)
สัดส่วนกรดไขมัน (Fatty Acid Profile) : เพื่อทำการวิเคราะห์ชนิดและสัดส่วนของกรดไขมัน ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ น้ำมัน นมและ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ขนมขบเคี้ยว ซอสปรุงรส มายองเนส ครีมสลัด ซุปผง เครื่องแกง น้ำพริก ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้รวมถึงการวิเคราะห์สัดส่วนของกรดไขมันในน้ำเลือด (Plasma) และเม็ดเลือดแดง (Red blood cell)
3. การทดสอบปริมาณเอทธิลแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) : เพื่อทำการตรวจแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ น้ำผลไม้และเครื่องดื่ม สีและกลิ่นสังเคราะห์ น้ำจิ้ม ซอสปรุงรส เครื่องดื่มชูกำลัง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
4. การทดสอบการปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรในอาหารและสิ่งตัวอย่างทางชีวภาพ
ดีเอ็นเอ (DNA) : เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของสุกรในผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น เป็นต้น