BIHAP จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฯฮาลาล
ผลิตภัณฑ์ฮาลาล หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มุสลิมสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักการในศาสนาอิสลาม ผู้คนทั่วไปมักรู้จัก ผลิตภัณฑ์ ฮาลาลในรูปแบบ ของอาหาร แต่ในความเป็นจริงผลิตภัณฑ์ฮาลาลเป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร ยา สมุนไพร เครื่องอุปโภค เสื้อผ้า เครื่องหนัง รวมถึงงานด้านบริการด้านต่างๆ เช่น ภัตตคาร โรงแรม โรงเรียนสถานพยาบาล สถาบันการเงิน สถานประกอบการบริการสปา กิจการนำเข้าส่งออก ฯลฯ ผลิตภัณฑ์หรือบริการใดหากไม่ขัดแย้งกับ หลักการในศาสนาอิสลาม ย่อมสามารถจัดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการฮาลาลได้ทั้งสิ้น ในกรณีของผลิภัณฑ์อาหารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด นิยมเรียกกันทั่วไปว่าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล

ความเป็นมา
จากความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น ซึ่งดูแลรับผิดชอบและดำเนินการโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล (The Halal Science Center) และคณะสหเวชศาสตร์ (Faculty of Allied Health Sciences) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University) ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่มีการจัดตั้งขึ้นนี้ถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นศูนย์พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ
ผลิตภัณ์และบริการฮาลาล เพื่อการส่งออกและเป็นศูนย์กลางงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมฮาลาลให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
พันธกิจ (Mission)
วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล
ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อการส่งออกให้กับผู้ประกอบการใหม่
ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยี
และการบริหารจัดการของผู้ประกอบการเองในด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลเพื่อการส่งออก
ดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลเพื่อการส่งออก
พัฒนาและสร้างผู้ประกอบการใหม่
ที่มีพื้นฐานความรู้ในเชิงวิชาการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ฮาลาลเพื่อการส่งออก