
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการศึกษา
มุสลิม หมายถึง ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกประกอบไปด้วยคนเชื้อชาติต่างๆ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านคน อาศัยอยู่หนาแน่นในกว่า 50 ประเทศ ในเมื่อประเทศไทยมีนโยบายที่จะเป็นครัวของโลก อาหารฮาลาลหรืออาหารสำหรับมุสลิมจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศไทยมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานอาหารฮาลาล ที่กำหนดไว้ตามหลักการอิสลาม สอดคล้องกับมาตรฐานของ Codex ทั้งปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคมุสลิม ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นที่จะยกระดับการผลิตอาหารฮาลาลในประเทศไทยเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกที่มีคุณภาพ
การก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรก
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นโดย ดร.วินัย ดะห์ลัน ในเดือนมกราคม พ.ศ.2538 ในรูปห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิม ขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นลำดับ
ทรัพยากร
- อาคารสถานที่
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่รวม 2,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีสำนักงานปัตตานีและสำนักงานเชียงใหม่
- บุคลากร
บุคลากร 56 คนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับคุณภาพ 20 คน ร้อยละ 95 เป็นมุสลิม
- เครื่องมือ
ศูนย์มีห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025-2005 ติดตั้งครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ทันสมัยมากมาย ได้แก่ LC/MS-Triple quadrupole, LC/MS-ESI, GC/MS/MS, ICP, FTIR-HTS-XT, realtime-PCR, zonal-UC, HPLC-UV, GC-FID ฯลฯ
ภารกิจของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีดังต่อไปนี้:
- จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือวิเคราะห์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
- บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสิ่งต้องห้าม (หะรอมและนะยิส) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
- พัฒนาเทคนิคใหม่ๆตลอดจนชุดตรวจเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผลิคภัณฑ์อาหารฮาลาล
- จัดทำบัญชีรายชื่อวัตถุดิบ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
- จัดทำเว็บไซด์เพื่อให้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลและแก่ผู้บริโภค
- ให้การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์แก่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลและองค์กรศาสนาอิสลามที่ดำเนินงานด้านการรับรองฮาลาลแก่ผลิตภัณฑ์
- ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรมอาหารและภัตตาคารที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลโดยใช้ระบบ Halal-GMP/HACCP
- จัดการอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป
หมายเหตุ : การอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป รวมถึงการอบรมและวางระบบ Halal-GMP/HACCP แก่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆนั้น เป็นบริการฟรี ที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลมีไว้บริการแก่ประชาชน
ความเป็นมา อาหารฮาลาลในประเทศไทย
มุสลิม หมายถึง ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกประกอบไปด้วยคนเชื้อชาติต่างๆ มากมาย มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านคน อาศัยอยู่หนาแน่นในกว่า 50 ประเทศ ในเมื่อประเทศไทยมีนโยบายที่จะเป็นครัวของโลก อาหารฮาลาลหรืออาหารสำหรับมุสลิมจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศไทยมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานอาหารฮาลาลที่กำหนดไว้ตามหลักการอิสลาม สอดคล้องกับมาตรฐานของ Codex ทั้งปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคมุสลิม ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นที่จะยกระดับการผลิตอาหารฮาลาลในประเทศไทยเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกที่มีคุณภาพ
การก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรก
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นโดย ดร.วินัย ดะห์ลัน ในเดือนมกราคม พ.ศ.2538 ในรูปห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิม ขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ได้รับการประกาศเกียรติคุณว่า เป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก
ศูนย์ฯ พัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาล อย่าง ต่อเนื่อง ขยายเครือข่ายครอบคลุมงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลหลายสาขา กระทั่งได้รับรางวัลระดับนานาชาติหลายชิ้น มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยด้านกายภาพและจิตวิญญาณของผู้บริโภคมุสลิมทั้งในประเทศ และทั่วโลกตามแนวทาง “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ”
ภารกิจของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีดังต่อไปนี้
- จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ประกอบด้วยเครื่องมือวิเคราะห์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและ ได้มาตรฐาน
- บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน สิ่งต้องห้าม(หะรอมและนะยิส) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
- พัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ตลอดจนชุดตรวจเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
- จัดทำบัญชีรายชื่อวัตถุดิบสารเคมีผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
- จัดทำเว็บไซด์เพื่อให้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลและแก่ผู้บริโภค
- ให้การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์แก่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลและองค์กรศาสนาอิสลามที่ดำเนินงานด้านการรับรองฮาลาล แก่ผลิตภัณฑ์
- ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรมอาหารและภัตตาคารที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลโดยใช้ระบบ Halal-GMP/HACCP
- จัดการอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประชาชนทั่ว
หมายเหตุ : การอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และประชาชนทั่วไป รวมถึงการอบรมและวางระบบ Halal-GMP/HACCP แก่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น เป็นบริการฟรีที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลมีไว้บริการแก่ประชาชน