เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. 2538

ดร.วินัย ดะห์ลัน จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลขึ้นในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินงานด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล

พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2540

ใช้เทคนิค GC-FID ตรวจพบการปนเปื้อนสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮาลาล

พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2541

ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานเฉพาะกิจด้านแนวทางฮาลาล องค์การอาเซียน จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลอาเซียนขึ้นในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2541
พ.ศ. 2543

เข้าร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ประสงค์ขอการรับรองฮาลาล

พ.ศ. 2543
พ.ศ.2546
13 สิงหาคม

ได้รับอนุมัติงบประมาณ 2547-49 จัดตั้ง “ห้องปฏิบัติการกลางวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล” ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่านคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

พ.ศ.2546
พ.ศ. 2547
ธันวาคม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” แยกออกจากคณะสหเวชศาสตร์ โดยพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลเต็มรูปแบบในพื้นที่ 400 ตารางเมตรของอาคารจุฬาพัฒน์ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2547
พ.ศ.2549

ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นเลขานุการคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)

พ.ศ.2549
พ.ศ.2552
มีนาคม

จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานจังหวัดปัตตานี รับผิดชอบงานในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ IMT-GT

พ.ศ.2552
พ.ศ.2552
มิถุนายน

รับรางวัล Recognition Award for Halal Achievement จากฟิลิปปินส์

พ.ศ.2552
พ.ศ.2552
กันยายน

ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ เป็นเกียรติยศสูงสุดจากความทุ่มเทพัฒนาวิทยาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิทยาศาสตร์ฮาลาลให้กับสังคมและประเทศ

พ.ศ.2552
พ.ศ. 2553

ย้ายห้องปฏิบัติการไปที่อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น11 พื้นที่ 800 ตารางเมตร

พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2554

เมษายน – พัฒนาการตรวจสอบความเครียดในสัตว์ ได้รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย

พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2554

กรกฎาคม – จัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ รับผิดชอบงานในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และงานอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)

พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2556
มกราคม

ทีมงานยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ Iskandar รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย เข้าปรึกษาหารือ ผอ.ศูนย์ฯเรื่องการพัฒนาศูนย์ฮาลาลในเขต Iskandar โดยมุ่งหวังที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางฮาลาลที่ทันสมัยที่สุดของมาเลเซีย จึงประสงค์ศึกษารูปแบบของประเทศไทย

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
มีนาคม

The Jakarta Post หนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดของอินโดนิเซียตีพิมพ์บทความชื่อ “Winai Dahlan: Advancing halal science” ในคอลัมน์บุคคลหน้า 28 ของหนังสือพิมพ์ฉบับตีพิมพ์จำหน่ายวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม และบนเว็บไซต์ออนไลน์ www.thejakartapost.com ยกย่องบทบาทการเป็นผู้นำเรื่องวิทยาศาสตร์ฮาลาลของ ผอ.ศูนย์ฯสร้างความเชื่อมั่นต่อฮาลาลประเทศไทยมากขึ้น

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
เมษายน

ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) นำนักธุรกิจเอสเอ็มอีแสดงนิทรรศการในงานแสดงสินค้าฮาลาล MIHAS (Malaysia International Halal Showcase) ณ KLCC กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นำเสนอ ฮาลาล ประเทศไทยในรูปแบบ “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” การจัดบูธโดยเน้นศิลปะของไทย มีการจัดแสดงการทำอาหารไทย ได้รับความสนใจอย่างมากและคำชื่นชมจากสื่อมวลชนของมาเลเซียในศักภาพฮาลาลไทย

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
เมษายน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาฯ, ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี) ออกข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2556 ลงวันที่ 19 เมษายน  โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลถูก กำหนดให้เป็นศูนย์ในกำกับมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนการผลิตผลผลิตหลัก ข้อ 4.21.4 หน้า 13 ข้อบังคับดังกล่าวเป็นข้อสรุปสำคัญว่าศูนย์ฯที่จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 23 ธันวาคม 2547 ผ่านช่วงเวลาการปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยตั้งแต่การออกนอกระบบ ในปี 2551 กระบวนการจัดโครงสร้างของมหาวิทยาลัยหลายครั้ง ท้ายที่สุดศูนย์ฯมีสถานะเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
เมษายน

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลพร้อมเป็นประธานเปิดการประชุมร่วมระหว่างฝ่ายกิจการฮาลาลไทย-มาเลเซีย (สกอท.-JAKIM) วันที่ 27 พฤษภาคม ณ สำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาลนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างกิจการฮาลาลของสองประเทศ ในการนี้ท่านรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมการดำเนินงานของ ศวฮ.จฬ.และศักยภาพการรับรองฮาลาลของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2556 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์การสนับสนุนที่ให้ต่อกิจการฮาลาลของประเทศไทยของท่านเพิ่มสูงยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
พฤษภาคม

ร่วมสนับสนุน สกอท.สำนักจุฬาราชมนตรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจัดงาน Phuket Halal Andaman for Tourism ณ โรงแรมภูเก็ตเกรชแลนด์ รีสอร์ทแอนด์สปา ต.ป่าตอง อ.กระทู้ และ Phuket Halal Andaman Expo 2013 ณ สะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
มิถุนายน

ผอ.ศูนย์ฯได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่องความสำเร็จของฮาลาลประเทศไทยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนให้ Pehin Sri Haji Abdul Taib Mahmud มุขมนตรีรัฐซาราวัก มาเลเซีย และนักลงทุนจากประเทศเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันตกได้รับฟัง ณ โรงแรม Hilton Kuching นครกูชิง รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ผลสำเร็จคือรัฐซาราวักแสดงความประสงค์ใช้ประเทศไทยเป็นโมเดลในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของตน ก่อนหน้านี้ ผอ.ศูนย์ฯ เดินทางไปบรรยายความก้าวหน้าด้านฮาลาลประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นและกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ความตื่นตัวของฮาลาลในเอเชียตะวันออกสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
มิถุนายน

ชาวศูนย์ฯทั้งสามสำนักงานจำนวน 60 คนเดินทางไปสัมมนาที่เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานสาขาปัตตานี เชียงใหม่และสำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ เป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)เน้นการพัฒนาประสิทธิผลความสัมพันธ์บุคลากรภายในองค์กร (Relationship Effectiveness) ควบคู่งานสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ที่ศวฮ.จฬ.ให้ความสำคัญมากขึ้น

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
มิถุนายน

งบประมาณ พ.ศ.2557 ของศูนย์ฯซึ่งเสนอขอต่อรัฐบาลในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่วนใหญ่เป็นโครงการความร่วมมือกับ สกอท.และสกอจ. ผ่านขั้นตอนกรรมาธิการงบประมาณโดยการสนับสนุนของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย (ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี, รศ.ทพ.นพ.ดร.สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดีด้านแผนและพัฒนา, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีด้านวิจัย, รศ.นพ.เจษฎา แสงสุพรรณ รองอธิการบดีด้านบริหาร ฯลฯ) สมาชิกกรรมาธิการบางท่าน ได้แก่ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล, ศ.ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน อภิปรายสนับสนุนงบประมาณของศูนย์ฯอย่างน่าประทับใจ อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังงบประมาณกลับถูกตัดในขั้นตอนอนุกรรมาธิการ นับเป็นประวัติศาสตร์การตัดงบประมาณที่มากที่สุดของศวฮ.จฬ.

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
มิถุนายน

งบประมาณ พ.ศ.2557 ของศูนย์ฯซึ่งเสนอขอต่อรัฐบาลในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่วนใหญ่เป็นโครงการความร่วมมือกับ สกอท.และสกอจ. ผ่านขั้นตอนกรรมาธิการงบประมาณโดยการสนับสนุนของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย (ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี, รศ.ทพ.นพ.ดร.สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดีด้านแผนและพัฒนา, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีด้านวิจัย, รศ.นพ.เจษฎา แสงสุพรรณ รองอธิการบดีด้านบริหาร ฯลฯ) สมาชิกกรรมาธิการบางท่าน ได้แก่ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล, ศ.ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน อภิปรายสนับสนุนงบประมาณของศูนย์ฯอย่างน่าประทับใจ อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังงบประมาณกลับถูกตัดในขั้นตอนอนุกรรมาธิการ นับเป็นประวัติศาสตร์การตัดงบประมาณที่มากที่สุดของศวฮ.จฬ.

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
กรกฎาคม

จัดอบรมการพัฒนาบุคลากรด้านฮาลาลของ สกอท.และสกอจ.ทั้ง 39 แห่ง จำนวนรวมกว่า 300 คน ณ วังรีรีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
กรกฎาคม

ศูนย์ฯได้รับมอบชั้น 13 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากชั้น 11 และ 12 เพื่อจัดสร้างเป็นห้องปฏิบัติการด้านวิทยานาโนฮาลาลและส่วนหนึ่งสนับสนุนพื้นที่ดำเนินงานแก่สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย เดิม ศูนย์ฯมีแนวโน้มจะได้รับมอบพื้นที่ชั้น 8 แทนชั้น 13 แต่ด้วยการเกื้อหนุนของมหาวิทยาลัย (ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี, รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีด้านกายภาพ) และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ดร.ทวี วงศ์ ศรีบุรี ผู้อำนวยการ) ศูนย์ฯจึงได้รับพื้นที่ชั้น 13 แทน

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
สิงหาคม

เฉลิมฉลองวาระครบรอบสิบปีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับงาน “หนึ่งทศวรรษสถาบันวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก 2546- 2556: ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (First Decade of the World First Halal Science Institution 2003-2013: The Halal Science Center, Chulalongkorn University) วันที่ 13-15 สิงหาคม พร้อมพิธีเปิดห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยา วันมูหะมัดนอร์ มะทา วันที่ 15 สิงหาคมเพื่อยกย่องบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันงบประมาณ พ.ศ.2547-2549  เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยงบประมาณที่เริ่มต้นจากครั้งนั้นทำให้ ศวฮ.จฬ. ก้าวเดินมาจนถึงจุดนี้

พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ร่วมจัดงาน Halal Andaman ณ จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2559
เมษายน

เป็นประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ.1437 ที่ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คลองเก้า รับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช องค์ประธาน โดยในเวลานั้นไม่มีใครรู้ว่าจะเสด็จเป็นปีสุดท้ายในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะเสด็จพระราชดำเนินในฐานะพระเจ้าอยู่หัว ขอทรงพระเจริญ

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
กันยายน

ร่วมกับท่านจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
ตุลาคม

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเชิญกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครบางส่วนและอิหม่ามมัสยิดรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดพิธีขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเป็นการด่วน ที่ธรรมสถาน พระองค์เสด็จสวรรคตในวันนั้น ในฐานะพสกนิกรพวกเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
พฤศจิกายน

ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปอินโดนีเซียคาราคาซังมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ขอให้ช่วยแก้ปัญหา ผอ.ศวฮ.จฬ. จึงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยไปพบประธาน LPPOM MUI เจรจากันที่จาการ์ต้า อินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จ การส่งออกที่ชงักงันเริ่มเดินหน้าต่อไปได้

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
พฤศจิกายน

นำทีมนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลประชุมร่วมกับท่านจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลามของท่านจุฬาราชมนตรีตัดสินเรื่องสารเคมี 115 ตัว ได้ข้อสรุปเพื่อจัดทำหนังสือ H numbers ที่คาดว่าจะเป็นหนังสือด้านอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งปี งานด้านนี้ที่ดำเนินการมานานสองปี จบสิ้นลง

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
ธันวาคม

จัดงาน Thailand Halal Assembly 2016 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีชาวต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า 300 องค์กรต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 40 องค์กร

พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
ธันวาคม

ผอ.ศวฮ.จฬ. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม SMIIC/OIC General Assembly ที่อิสตันบูล ตุรกี ประเทศไทยได้รับการรับรองให้เข้าเป็นสมาชิก SMIIC นับเป็นประเทศที่มิใช่มุสลิมประเทศแรกที่เข้าร่วม เป็นการแก้คำปรามาสของคนไทยด้วยกันที่ว่าประเทศไทยมิใช่ประเทศมุสลิม จะทำฮาลาลแข่งกับมาเลเซียได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริง ประเทศไทยส่งออกฮาลาลมากกว่ามาเลเซีย มีคุณภาพการรับรองที่ไม่ด้อยกว่าเลย

พ.ศ. 2559

พ.ศ. 2538

ดร.วินัย ดะห์ลัน จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลขึ้นในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินงานด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล

พ.ศ. 2540

ใช้เทคนิค GC-FID ตรวจพบการปนเปื้อนสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮาลาล

พ.ศ. 2541

ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานเฉพาะกิจด้านแนวทางฮาลาล องค์การอาเซียน จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลอาเซียนขึ้นในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2543

เข้าร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ประสงค์ขอการรับรองฮาลาล

พ.ศ.2546

13 สิงหาคม – ได้รับอนุมัติงบประมาณ 2547-49 จัดตั้ง “ห้องปฏิบัติการกลางวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล” ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่านคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

พ.ศ. 2547

ธันวาคม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” แยกออกจากคณะสหเวชศาสตร์ โดยพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลเต็มรูปแบบในพื้นที่ 400 ตารางเมตรของอาคารจุฬาพัฒน์ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2549

ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นเลขานุการคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)

พ.ศ.2552

มีนาคม – จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานจังหวัดปัตตานี รับผิดชอบงานในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ IMT-GT

มิถุนายน – รับรางวัล Recognition Award for Halal Achievement จากฟิลิปปินส์

กันยายน – ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ เป็นเกียรติยศสูงสุดจากความทุ่มเทพัฒนาวิทยาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิทยาศาสตร์ฮาลาลให้กับสังคมและประเทศ

พ.ศ. 2553

ย้ายห้องปฏิบัติการไปที่อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น11 พื้นที่ 800 ตารางเมตร

พ.ศ. 2554

เมษายน – พัฒนาการตรวจสอบความเครียดในสัตว์ ได้รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย

กรกฎาคม – จัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ รับผิดชอบงานในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และงานอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)

พ.ศ.2556

มกราคม – ทีมงานยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ Iskandar รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย เข้าปรึกษาหารือ ผอ.ศูนย์ฯเรื่องการพัฒนาศูนย์ฮาลาลในเขต Iskandar โดยมุ่งหวังที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางฮาลาลที่ทันสมัยที่สุดของมาเลเซีย จึงประสงค์ศึกษารูปแบบของประเทศไทย

มีนาคม – The Jakarta Post หนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดของอินโดนิเซียตีพิมพ์บทความชื่อ “Winai Dahlan: Advancing halal science” ในคอลัมน์บุคคลหน้า 28 ของหนังสือพิมพ์ฉบับตีพิมพ์จำหน่ายวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม และบนเว็บไซต์ออนไลน์ www.thejakartapost.com ยกย่องบทบาทการเป็นผู้นำเรื่องวิทยาศาสตร์ฮาลาลของ ผอ.ศูนย์ฯสร้างความเชื่อมั่นต่อฮาลาลประเทศไทยมากขึ้น

เมษายน – ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) นำนักธุรกิจเอสเอ็มอีแสดงนิทรรศการในงานแสดงสินค้าฮาลาล MIHAS (Malaysia International Halal Showcase) ณ KLCC กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นำเสนอ ฮาลาล ประเทศไทยในรูปแบบ “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” การจัดบูธโดยเน้นศิลปะของไทย มีการจัดแสดงการทำอาหารไทย ได้รับความสนใจอย่างมากและคำชื่นชมจากสื่อมวลชนของมาเลเซียในศักภาพฮาลาลไทย

เมษายน – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาฯ, ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี) ออกข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2556 ลงวันที่ 19 เมษายน  โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลถูก กำหนดให้เป็นศูนย์ในกำกับมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนการผลิตผลผลิตหลัก ข้อ 4.21.4 หน้า 13 ข้อบังคับดังกล่าวเป็นข้อสรุปสำคัญว่าศูนย์ฯที่จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 23 ธันวาคม 2547 ผ่านช่วงเวลาการปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยตั้งแต่การออกนอกระบบ ในปี 2551 กระบวนการจัดโครงสร้างของมหาวิทยาลัยหลายครั้ง ท้ายที่สุดศูนย์ฯมีสถานะเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์

เมษายน – นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลพร้อมเป็นประธานเปิดการประชุมร่วมระหว่างฝ่ายกิจการฮาลาลไทย-มาเลเซีย (สกอท.-JAKIM) วันที่ 27 พฤษภาคม ณ สำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาลนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างกิจการฮาลาลของสองประเทศ ในการนี้ท่านรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมการดำเนินงานของ ศวฮ.จฬ.และศักยภาพการรับรองฮาลาลของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2556 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์การสนับสนุนที่ให้ต่อกิจการฮาลาลของประเทศไทยของท่านเพิ่มสูงยิ่งขึ้น

พฤษภาคม – ร่วมสนับสนุน สกอท.สำนักจุฬาราชมนตรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจัดงาน Phuket Halal Andaman for Tourism ณ โรงแรมภูเก็ตเกรชแลนด์ รีสอร์ทแอนด์สปา ต.ป่าตอง อ.กระทู้ และ Phuket Halal Andaman Expo 2013 ณ สะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

มิถุนายน – ผอ.ศูนย์ฯได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่องความสำเร็จของฮาลาลประเทศไทยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนให้ Pehin Sri Haji Abdul Taib Mahmud มุขมนตรีรัฐซาราวัก มาเลเซีย และนักลงทุนจากประเทศเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันตกได้รับฟัง ณ โรงแรม Hilton Kuching นครกูชิง รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ผลสำเร็จคือรัฐซาราวักแสดงความประสงค์ใช้ประเทศไทยเป็นโมเดลในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของตน ก่อนหน้านี้ ผอ.ศูนย์ฯ เดินทางไปบรรยายความก้าวหน้าด้านฮาลาลประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นและกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ความตื่นตัวของฮาลาลในเอเชียตะวันออกสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

มิถุนายน – ชาวศูนย์ฯทั้งสามสำนักงานจำนวน 60 คนเดินทางไปสัมมนาที่เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานสาขาปัตตานี เชียงใหม่และสำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ เป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)เน้นการพัฒนาประสิทธิผลความสัมพันธ์บุคลากรภายในองค์กร (Relationship Effectiveness) ควบคู่งานสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ที่ศวฮ.จฬ.ให้ความสำคัญมากขึ้น

มิถุนายน – งบประมาณ พ.ศ.2557 ของศูนย์ฯซึ่งเสนอขอต่อรัฐบาลในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่วนใหญ่เป็นโครงการความร่วมมือกับ สกอท.และสกอจ. ผ่านขั้นตอนกรรมาธิการงบประมาณโดยการสนับสนุนของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย (ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี, รศ.ทพ.นพ.ดร.สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดีด้านแผนและพัฒนา,    ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีด้านวิจัย, รศ.นพ.เจษฎา แสงสุพรรณ รองอธิการบดีด้านบริหาร ฯลฯ) สมาชิกกรรมาธิการบางท่าน ได้แก่ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล, ศ.ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน อภิปรายสนับสนุนงบประมาณของศูนย์ฯอย่างน่าประทับใจ อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังงบประมาณกลับถูกตัดในขั้นตอนอนุกรรมาธิการ นับเป็นประวัติศาสตร์การตัดงบประมาณที่มากที่สุดของศวฮ.จฬ.

กรกฎาคม – จัดอบรมการพัฒนาบุคลากรด้านฮาลาลของ สกอท.และสกอจ.ทั้ง 39 แห่ง จำนวนรวมกว่า 300 คน ณ วังรีรีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

กรกฎาคม – ศูนย์ฯได้รับมอบชั้น 13 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากชั้น 11 และ 12 เพื่อจัดสร้างเป็นห้องปฏิบัติการด้านวิทยานาโนฮาลาลและส่วนหนึ่งสนับสนุนพื้นที่ดำเนินงานแก่สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย เดิม ศูนย์ฯมีแนวโน้มจะได้รับมอบพื้นที่ชั้น 8 แทนชั้น 13 แต่ด้วยการเกื้อหนุนของมหาวิทยาลัย (ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี, รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีด้านกายภาพ) และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ดร.ทวี วงศ์ ศรีบุรี ผู้อำนวยการ) ศูนย์ฯจึงได้รับพื้นที่ชั้น 13 แทน

สิงหาคม – เฉลิมฉลองวาระครบรอบสิบปีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับงาน “หนึ่งทศวรรษสถาบันวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก 2546- 2556: ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (First Decade of the World First Halal Science Institution 2003-2013: The Halal Science Center, Chulalongkorn University) วันที่ 13-15 สิงหาคม พร้อมพิธีเปิดห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยา วันมูหะมัดนอร์ มะทา วันที่ 15 สิงหาคมเพื่อยกย่องบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันงบประมาณ พ.ศ.2547-2549  เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยงบประมาณที่เริ่มต้นจากครั้งนั้นทำให้ ศวฮ.จฬ. ก้าวเดินมาจนถึงจุดนี้

พ.ศ. 2557

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ร่วมจัดงาน Halal Andaman ณ จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ.2559

เมษายน – เป็นประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ.1437 ที่ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คลองเก้า รับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช องค์ประธาน โดยในเวลานั้นไม่มีใครรู้ว่าจะเสด็จเป็นปีสุดท้ายในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะเสด็จพระราชดำเนินในฐานะพระเจ้าอยู่หัว ขอทรงพระเจริญ

กันยายน – ร่วมกับท่านจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

ตุลาคม – ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเชิญกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครบางส่วนและอิหม่ามมัสยิดรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดพิธีขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเป็นการด่วน ที่ธรรมสถาน พระองค์เสด็จสวรรคตในวันนั้น ในฐานะพสกนิกรพวกเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

พฤศจิกายน – ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปอินโดนีเซียคาราคาซังมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ขอให้ช่วยแก้ปัญหา ผอ.ศวฮ.จฬ. จึงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยไปพบประธาน LPPOM MUI เจรจากันที่จาการ์ต้า อินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จ การส่งออกที่ชงักงันเริ่มเดินหน้าต่อไปได้

พฤศจิกายน – นำทีมนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลประชุมร่วมกับท่านจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลามของท่านจุฬาราชมนตรีตัดสินเรื่องสารเคมี 115 ตัว ได้ข้อสรุปเพื่อจัดทำหนังสือ H numbers ที่คาดว่าจะเป็นหนังสือด้านอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งปี งานด้านนี้ที่ดำเนินการมานานสองปี จบสิ้นลง

ธันวาคม – จัดงาน Thailand Halal Assembly 2016 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีชาวต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า 300 องค์กรต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 40 องค์กร

ธันวาคม – ผอ.ศวฮ.จฬ. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม SMIIC/OIC General Assembly ที่อิสตันบูล ตุรกี ประเทศไทยได้รับการรับรองให้เข้าเป็นสมาชิก SMIIC นับเป็นประเทศที่มิใช่มุสลิมประเทศแรกที่เข้าร่วม เป็นการแก้คำปรามาสของคนไทยด้วยกันที่ว่าประเทศไทยมิใช่ประเทศมุสลิม จะทำฮาลาลแข่งกับมาเลเซียได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริง ประเทศไทยส่งออกฮาลาลมากกว่ามาเลเซีย มีคุณภาพการรับรองที่ไม่ด้อยกว่าเลย

Message us