ขั้นตอนการขอรับรองฮาลาล

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

เข้าร่วมงานการตรวจสอบรับรองฮาลาลกับสำนักจุฬาราชมนตรีในปี พ.ศ.2539 โดยทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนขอการรับรองและหลังการรับรองฮาลาลแล้ว ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติบริหารองค์กรในศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 งานการรับรองฮาลาลได้โอนย้ายไปขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะสหเวชศาสตร์จึงมิได้ร่วมงานอีก จนกระทั่งปี พ.ศ.2543 รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ซึ่งเข้าไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครได้นำศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมันเข้าร่วมงานการรับรองฮาลาลอีกครั้งหนึ่ง

คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

ระหว่างปี พ.ศ.2543-2549 มีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ดูแลรับผิดชอบการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลในเขตจังหวัดของตนเอง  ใช้หรือเคยใช้บริการของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและคณะสหเวชศาสตร์ในการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล  ทั้งการตรวจวิเคราะห์และการขอคำปรึกษา ดังนี้

  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดนนทบุรี
  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปทุมธานี
  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต
  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่

สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล

ในปี พ.ศ.2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลทำข้อตกลง  ความร่วมมือวิชาการกับสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันฯนี้     แม้มิได้ทำหน้าที่รับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลโดยตรงแต่ดูแล  รับผิดชอบงานทางวิชาการของฝ่ายกิจการฮาลาลของ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จึงมีบทบาท   ในทางอ้อมต่อการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.2549 รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารสถาบันมาตรฐานอาหาร   ฮาลาลทั้งสองฝ่ายจึงมีความร่วมมือกันมากขึ้น

ระเบียบการรับรองฮาลาล

  • ระเบียบกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
  • ระเบียบกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ 2)
  • กำหนดค่าธรรมเนียมและเงินหลักประกัน

หมายเหตุ ปัจจุบันใช้ระเบียบ พ.ศ.๒๕๔๘

กระบวนการขอรับรองและขอใช้เครื่องหมาย

ขั้นที่ 1 เตรียมการ

  • ผู้ประกอบการยื่นความจำนงขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ที่ปรึกษาโครงการตรวจประเมินและให้คำปรึกษาแนะ
  • จัดอบรมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการ
  • ผู้ประกอบการจัดทำระบบเอกสารและกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ผู้ประกอบการเตรียมเอกสารตามที่สถาบันฯ กำหนด
  • ที่ปรึกษาจัดทำรายงานสรุปการปรึกษาโครงการฯ

ขั้นที่ 2 ยื่นคำขอและพิจารณาคำขอ

1) ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับการตรวจรับรอง
ต่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท) หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (สกอจ) แล้วแต่กรณี

เอกสารเพื่อขอรับรองฮาลาล

บุคคลธรรมดา (มีแรงม้ารวม 5-20 แรงม้า และ/หรือมีคนงาน 7-20 คน ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะ)

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต , ขั้นตอน , วัตถุดิบ , ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน

นิติบุคคล

  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • ใบอนุญาตตั้งโรงงานแบบ รง.2 หรือ รง.4 (ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน)
  • ใบอนุญาตผลิตอาหาร (อ.2)
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต , ขั้นตอน , วัตถุดิบ , ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน

2) เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของเอกสารที่ประกอบคำขอ
แล้วนำเสนอสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

4) จ่ายค่าธรรมเนียม

5) นัดหมายการตรวจสอบสถานประกอบการ

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบสถานประกอบการ

1) คณะผู้ตรวจสอบ
ไปตรวจโรงงาน/สถานประกอบการ ตามที่นัดหมาย

2) ประชุมชี้แจงร่วมกันระหว่าง คณะผู้ตรวจสอบของฝ่าย
กิจการฮาลาลกับฝ่ายสถานประกอบการก่อนดำเนินการตรวจสอบใช้เวลาประมาณ  30  นาที โดยมี        ขั้นตอนดังนี้

  • แนะนำตัวเพื่อทำความรู้จักกัน
  • หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบชี้แจง หลักการ ระเบียบฯ เหตุผล และความจำเป็นในการตรวจพิจารณา ก่อนให้การรับรองฮาลาล
  • ฝ่ายสถานประกอบการบรรยายสรุป เกี่ยวกับกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ส่วนผสม หรือสารปรุงแต่ง การบรรจุ การเก็บรักษา การขนส่ง ฯลฯ ให้คณะผู้ตรวจสอบทราบ อนึ่ง คณะผู้ตรวจสอบประกอบด้วย หัวหน้าคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลาม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้านการผลิต ส่วนฝ่ายประกอบการจะต้องประกอบด้วย ผู้จัดการโรงงาน ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นสำคัญ หากจะมีผู้จัดการฝ่ายอื่นร่วมประชุม ชี้แจงด้วยก็ได้

3) ฝ่ายสถานประกอบการ นำคณะผู้ตรวจสอบพิจารณา
กระบวนการ ผลิต วัตถุดิบ สถานที่ผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา สถานที่จำหน่าย ฯลฯ ตามที่บรรยายสรุป

4) คณะผู้ตรวจสอบให้คำแนะนำแก่ผู้ยื่นคำขอ
เมื่อเห็นว่า ผู้ประกอบการ ดำเนินการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อบกพร่อง เพื่อจะได้ ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป

5) คณะผู้ตรวจสอบรายงานผล
ให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลพิจารณา

ขั้นที่ 4 พิจารณาผลการตรวจสอบและให้หนังสือรับรอง

1) คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการพิจารณา
ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาอนุญาต

2) เรียกเอกสารหรือผลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
เพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น

3) คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลแจ้งผลพิจารณา
ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ขอรับรอง ฮาลาลทราบ

4) คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลแจ้งผลพิจารณา
ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ขอรับรอง ฮาลาลทราบ

5) ผู้ขอซึ่งได้หนังสือรับรองฮาลาลแล้ว และมีความประสงค์ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทยจะออกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ผู้ขอ เมื่อผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมแล้ว

ขั้นที่ 5 การติดตามและประเมินผล

1) ดำเนินการติดตามและกำกับดูแลสถานประกอบการ
ซึ่งได้รับรองฮาลาล และหรือให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ให้ปฏิบัติตามสัญญาและระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยใช้กลไกการตรวจสอบดังนี้

  • ให้มีผู้ตรวจการอาหารฮาลาล เพื่อตรวจสอบสินค้าอาหารฮาลาลในตลาด
  • ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาสถานประกอบการ

2) ฝ่ายกิจการฮาลาลตรวจสอบผลิตภัณฑ์
กระบวนการผลิต สถานประกอบการ และการให้บริการที่ได้รับ อนุญาตแล้ว โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เป็นระยะตามความเหมาะสม

3) ฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการตรวจสอบ
ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบหรือพิจารณา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : https://www.halal.or.th

Message us